ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อ 3 ด้าน People ware หาตำแหน่งงานด้าน IT พร้อม อธิบาย คุณสมบัติ หน้าที่รับผิดชอบ ของตำแหน่ง มา 5 ตำแหน่ง



1.  นักวิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)
คือ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของระบบ (System Owners) ผู้ใช้ระบบ (System Users) และผู้สร้างระบบ (System Builders) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรขึ้นมา ทั้งนี้หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิเคราะห์ระบบ และออกแบบระบบ

คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่  
นักวิเคราะห์ระบบที่ดียังจะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษาฮาร์ดแวร์  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4. ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอก   ที่เกี่ยวข้องกับ  ระบบ
5.
มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.
ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9. มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและตรงกัน
10. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11. สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12. เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่าง ถูกต้อง

  หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ
1. รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
2.   จัดทำเอกสาร ในระหว่างทำการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารในแต่ละขั้นตอนให้ละเอียด
3.  จัดทำพจนานุกรมข้อมูล ( Data Dictionary ) เป็นการรวบรวมเอกสารทั้งหมด และอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องมีการใช้งานในระบบ พจนานุกรมจัดเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ระบบ
4.  ออกแบบระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ และมีความเหมาะสมมากที่สุด รวมทั้งออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน และฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้งาน
5.  สร้างแบบจำลอง ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่เจ้าของระบบและผู้ใช้งาน
6. ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ในบางครั้งนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมเอง แต่หากให้ผู้ใช้งานระบบเป็นผู้ทดสอบจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจระบบงานอย่างแท้จริง
7.  ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ ทำการติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบเดิมเป็นระบบใหม่
8.  จัดทำคู่มือ จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบ
9. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุง ดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบมีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุดจัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงาน ของระบบใหม่ที่ได้ติดตั้งไปแล้ว
10. ป็นผู้ให้คำปรึกษา คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนในระบบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการใช้โปรแกรมหรือทางด้านเทคนิคก็ตาม
11. เป็นผู้ประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ถูกต้องตรงกันที่สุด
 


คือ  ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดของระบบงานจาก การวิเคราะห์ระบบโดยผู้วิเคราะห์ระบบงานมาวางแผน และจัดทำแผนภูมิ เขียนเป็นโปรแกรมสำหรับระบบต่างๆ เพื่อประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเครื่องระบบฐานข้อมูล ทำการทดสอบระบบที่พัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตกลงไว้ และส่งมอบให้ผู้วิเคราะห์ระบบงาน และทำการทดสอบระบบโดยรวม เพื่อหาข้อผิดพลาดและแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง
ลักษณะของงานที่ทำ
               รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User) จากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จัดทำแผนภูมิ (Flowchart) ขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
วิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนผังสายงาน แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด โดยนำความรู้เกี่ยวกับวิสัยสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาใช้สร้างหรือกำหนดลำดับขั้นของการประมวลผล (โปรแกรม)
ปรึกษาหารือกับผู้ควบคุมงานและผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ในการทำโปรแกรม เพื่อให้ผลจากเครื่องประมวลผลตามต้องการในเรื่องข้อมูลที่จะนำเข้าระบบ ขอบเขตของการเขียนโปรแกรม การใช้รหัส และการดัดแปลงเพิ่มเติม
ตรวจสอบภายในและการควบคุมต่างๆ เขียนแผนภูมิสายงานที่ถูกต้องละเอียดตามหลักวิชาให้เป็นรูปสัญลักษณ์เพื่อใช้แทนลำดับขั้นของข้อมูล ที่จะประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และเพื่อเป็นการอธิบายถึงการนำข้อมูลมาส่งเข้าหรือนำออกมาจากเครื่อง
เปลี่ยนแผนภูมิสายงานที่ละเอียดและถูกต้องตามหลักวิชาการให้เป็นภาษาที่ใช้กับการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ทดสอบโปรแกรมด้วยข้อมูลตัวอย่าง ทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม ใช้ข้อมูลตัวอย่างหรือ ข้อมูลจริงส่งเข้าเครื่องคำนวณ เพื่อทดสอบโปรแกรมที่เข้ารหัสแล้วกับเครื่องคำนวณ และแก้ไขความคลาดเคลื่อนของผังประมวลผลโปรแกรมใหม่ให้ถูกต้อง
จัดเตรียมข้อสั่งหรือคู่มือการใช้งานระบบนั้นๆ และชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ผู้ใช้เครื่องได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงาน
วิเคราะห์ ตรวจสอบและเขียนผังประมวลผลโปรแกรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หรือเพื่อดัดแปลงแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการ ประมวลเอกสารหลักฐานของการพัฒนาโปรแกรม และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโปรแกรม
อาจชำนาญในการเขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องจักรคำนวณแบบใดแบบหนึ่ง หรือประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ
คุณสมบัติ
  ผู้ประกอบอาชีพนี้ อย่างน้อยต้องสำเร็จปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
ควรมีความคิดสร้างสรรค์ และซื่อสัตย์ในอาชีพ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในวิชานี้ ดัดแปลงโปรแกรมหรือข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ควรจะมี มนุษยสัมพันธ์ที่ดีเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ให้บริการในการให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้ระบบงานอาจจะต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านการใช้งานจึงต้องมีความสามารถชี้แจง ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใช้ระบบงาน รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้อื่น

3. ผู้ดูแลระบบ
สิทธิและหน้าที่ของผู้ดูแลระบบ   ผู้ดูแลระบบมีสิทธิที่จะดำเนินมาตรการตามสมควรเพื่อประสิทธิภาพ และความเรียบร้อยของระบบ รวมทั้งรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของแฟ้มข้อมูล, เอกสารที่พิมพ์ออกมา, และไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ของผู้ใช้
1.       ผู้ดูแลระบบมีสิทธิตรวจสอบแฟ้มข้อมูล และข่าวสารทุกประเภทของผู้ใช้ตามความจำเป็นในการแก้ไขซ่อมแซมระบบหรือการสืบสวนเกี่ยวกับการใช้งานระบบอย่างไม่ถูกต้อง
2.      ผู้ดูแลระบบอาจจำกัดการใช้งานของผู้ที่ใช้ระบบไม่เหมาะสม หรือถูกลักลอบใช้บัญชี
3.      ผู้ดูแลระบบมีสิทธิในการยุติการทำงานของโปรเซส ซึ่งสร้างภาระให้ระบบโดยไม่จำเป็นหรือเกินขนาดโดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า
4.     ผู้ดูแลระบบมีสิทธิจะทำการบีบอัด เพื่อลดขนาดแฟ้มข้อมูลใดๆได้โดยไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า
5.      ผู้ดูแลระบบมีหน้าที่ในการแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้าถึงวันเวลาที่ต้องปิดระบบเพื่อบำรุงรักษาปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งส่งผลให้ต้องหยุดบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในกรณีฉุกเฉินผู้ดูแลระบบอาจมีความจำเป็นต้องปิดระบบทันที และจะพยายามให้ผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะดำเนินการปิดระบบ
6.     ผู้ดูแลระบบมีอำนาจที่จะเพิกถอนสิทธิ์การใช้ระบบต่อผู้ใช้ที่ฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้ในเอกสารฉบับนี้
7.      ผู้ดูแลระบบต้องไม่ให้สิทธิ์พิเศษอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้ใช้ ยกเว้นในกรณีที่ผู้ใช้มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์นั้นโดยความจำเป็น และให้ยกเลิกสิทธิ์นั้นทันทีเมื่อหมดความจำเป็น
8.      สบค. สงวนสิทธิ์ที่จะระงับหรือดำเนินการปิดระบบเซอร์ฟเวอร์ หรือบริการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายหรือเซอร์ฟเวอร์ที่เปิดใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก สบค
ที่มา  http://www.ku.ac.th/www/ED/rule/#05

 เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร จะทำหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบายและแผนงานทางคอมพิวเตอร์ในองค์กรทั้งหมดว่า ควรเป็นไปในรูปแบบใด การขยายงานทางด้านธุรกิจขององค์กรที่รวดเร็ว ควรจะมี การปรับ เพิ่ม ลด องค์ประกอบทางด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใดอีกบ้างที่จะทำให้เป็น ไปตามเป้าหมายโดยรวมมากที่สุด
 l ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร
 l เกี่ยวข้องกับลักษณะงานด้านเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น การติดตั้งระบบเครือข่ายการควบคุมสิทธิของผู้ที่จะใช้งาน การป้องกันการบุกรุกเครือข่าย เป็นต้น
 l มีความชำนาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี และต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป   สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ  เช่น  การพิมพ์งาน   การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์   การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์   เป็นต้น  ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ  ของคอมพิวเตอร์ก็ได้
ลักษณะงาน
  • ร่างแบบเว็บไซต์ (Mockup) เพื่อให้ทีมงานเข้าใจหน้าตาคร่าวๆ ของเว็บได้
  • ใช้ Photoshop เพื่อพัฒนาจาก Mockup เป็น Graphic ที่สวยงาม
  • แปลงภาพที่ออกแบบให้เป็นหน้าเว็บด้วย XHTML + CSS (Tableless Design)
  • ออกแบบ Logo, Icon, Emoticon ต่างๆ ที่ใช้ภายในเว็บไซต์
  • ทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างเบราว์เซอร์ Internet Explorer 7 ขึ้นไป, Firefox, Chrome
คุณสมบัติ
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ รู้จักทฤษฎีสี รู้จักการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ อย่างลงตัว
ใช้ภาษา XHTML + CSS เป็นภาษาที่สองรองจากภาษาไทย
ถ้าเขียน HTML5, Flash, JavaScript, jQuery, jQuery Mobile, PHP ได้ เข้าใจมาตรฐาน WCAG เพื่อการทำเว็บให้คนตาบอดเข้าถึงได้ง่าย จะถูกใจให้ Give
ใส่ใจความรู้สึกของผู้ใช้ และใส่ใจรายละเอียดในระดับพิกเซล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น