ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์เกี่ยวกับ IT ครั้งที่ 1


1.  API
                Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับระบบ ปฏิบัติการ
                การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัติการ ได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นของเขาให้ทำงานเข้ากับ ระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%
                อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้
2. Chipset
                "Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด
3. Flash Memory
                "Flash Memory" หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของหน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า
                "Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก
                "Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเพียงครั้งเดียว
                ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ก, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ
4. Free Software
                Free Software เป็นคำที่มีคนเข้าใจผิดกันมาก เพราะคำว่า Free ใน Free Software นั้นหมายถึง "เสรีภาพ" หรือ "อิสระภาพ" ไม่ใช่ "ราคา" ดังนั้นเราจึงเรียก Free Software ว่า "ซอฟต์แวร์เสรี" ซึ่งมีแนวคิดหรือคอนเซ็ปต์เดียวกันกับโอเพนซอร์ส” (Open Source)
สำหรับนิยามของคำว่า Free Software นั้น มีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน คือ
                1.มีเสรีในการรันหรือใช้ซอฟต์แวร์สำหรับทุกๆวัตถุประสงค์
                2.มีเสรีในการปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ
สำหรับ ข้อนี้นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า การปรับแต่งซอฟต์แวร์ต้องกระทำในส่วนที่เป็นซอร์สโค้ดเท่านั้น หากไม่มีซอร์สโค้ด ก็ไม่สามารถทำได้ หรืออาจจะได้ แต่ยากมากๆ
                3.มีเสรีในการก็อปปี้ซอฟต์แวร์เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้อื่น ไม่ว่าจะมีราคาค่าตัวหรือไม่ก็ตาม
                4.มีเสรีในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมตามความต้องการแล้ว
                จาก นิยามทั้ง 4 ข้อ เมื่อคำว่า Free ถูกตีความไปเป็นคำว่า เสรีภาพหรืออิสรภาพแล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงได้รับความกระจ่างกับคำถามที่ว่าทำไมฟรีซอฟต์แวร์ถึงขายได้???” หรือ ทำไมลีนักซ์จึงไม่ใช่ของฟรี??? ไหนบอกว่าเป็นฟรีซอฟต์แวร์
                อย่างไรก็ตาม รายได้จากการจำหน่ายฟรีซอฟต์แวร์จะกลายเป็นทุนสำหรับการพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ ให้ดีขึ้นต่อไป เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง และอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน จำเป็นต้องมีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งรายได้เหล่านั้นก็มาจากเงินบริจาคและจากการจำหน่ายฟรีซอฟต์แวร์นั่นเอง
5. Instruction
  Instruction หรือ อินสตรักชั่น คือ คำสั่งที่สั่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้โปรเซสเซอร์ทำงานตามที่ต้องการใน ระดับล่างสุด อินสตรักชั่นแต่ละอินสตรักชั่นจะประกอบไปด้วย 0 และ 1 เรียงต่อๆกันอยู่ ซึ่งจะอธิบายถึงลักษณะและวิธีการประมวลผล เช่น บวกหรือลบ
                พื้นที่ ที่ใช้เก็บจำนวนหรือผลลัพธ์ที่ใช้ในการประมวลผล หรือแอดเดรสของอินสตักชั่นถัดไปในหน่วยความจำ (ขึ้นอยู่กับประเภทของอินสตักชั่น) ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงแอดเดรสแบบทางตรง (Direect) หรือทางอ้อม (Indirect) จะเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register)
                ในภาษาแอสเซมเบลอร์ (Assembler) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับ 1 อินสตักชั่น แต่สำหรับในภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงแล้ว คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับหลายๆอินสตักชั่นรวมกัน
6. Main Frame
                Mainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)
                ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้
7. MalWare
                มัลแวร์ หรือโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Application; MalWare) คือโปรแกรมที่ทำงานแบบไม่หวังดีกับระบบคอมพิวเตอร์ อันหมายรวมถึง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), โปรแกรมแอบดักข้อมูล (Spyware), โปรแกรมโฆษณา (Adware), Backdoor, Key Logger ฯลฯ
8. Microchip
                Microchip หรือ ไมโครชิพ หรือ ชิพ คือแพ็คเกจของชุดวงจรคอมพิวเตอร์ (อินทิเกรเต็ดเซอร์กิต; Integrated Circuit) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ซิลิคอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ไมโครชิพถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรแกรมตรรก (ชิพไมโครโปรเซสเซอร์) และหน่วยความจำ (แรม; RAM) นอกจากนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีกด้วย เช่น Analog-to-Digital Conversion, Bit Slicing และ Gateway เป็นต้น

9. Nonvolatile Memory
                Nonvolatile Memory หรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย
10. Podcast
                พ็อดคาสต์หรือ Podcast คือการบันทึกเสียงหรือการนำไฟล์เสียงขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดมาฟัง ไฟล์เสียงที่ถูกเก็บไว้ในพ็อดคาสต์ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์เพลงเสมอไป เจ้าของเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับเสียง หรืออาจทำในรูปแบบ Audio Weblog หรือเว็บล็อกที่ใช้เสียงพูดแทนตัวหนังสือ
                กรณี ศึกษาที่เห็นได้ชัดคือ เว็บไซต์อย่าง EarningsCast.com นักลงทุนสามารถฟังรายงานผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ ผ่านพ็อดคาสต์ ถือเป็นการใช้พ็อดคาสต์เพื่อเป็นประโยชน์ในการเทรดหุ้นของบริษัท
                จุดต่างของระหว่างพ็อดคาสติ้งและสถานีเพลงออนไลน์ทั่วไปคือ ผู้ที่ต้องการฟังสถานีเพลงออนไลน์จะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลด ไฟล์ MP3 มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะดาวน์โหลดเพื่อเก็บในเครื่องเล่นพกพา ในขณะที่สมาชิกของเว็บไซต์พ็อดคาสต์จะได้รับไฟล์ MP3 อัปเดทใหม่แบบอัตโนมัติแม้จะไม่ได้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ก็ตาม ผลจากการทำงานร่วมกับ RSS Feed

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น