ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์เกี่ยวกับ IT ครั้งที่ 2


1.   MP4
MP4 หรือ Mpeg4 เป็น มาตรฐานในการย่อขนาดไฟล์เสียงและภาพยนตร์ที่มีความสามารถสูง โดยสามารถย่อไฟล์ภาพยนตร์ให้มีขนาดเล็กแต่ให้คุณภาพในระดับที่เกือบเทียบ เท่าดีวีดี แต่ถ้าต้องการความคมชัดสูงก็สามารถบีบอัดหนังในคุณภาพระดับ High Definition ได้ (ไฟล์ DivX ก็เป็นไฟล์ชนิดหนึ่งที่เอามาตรฐานการลดขนาดภาพของ Mpeg4 มาใช้)
เมื่อพูดถึงเครื่องเล่น MP4 ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง เครื่องเล่นพกพาที่สามารถเล่นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้ เช่น หนัง คาราโอเกะ คลิปวิดีโอ นอกจากนี้ยังสามารถดู eBook (.txt) สมุด โทรศัพท์ เล่นเกม ฟังเพลง วิทยุเอฟเอ็ม อัดเสียง โฟโต้อัลบั้ม และจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชไดรฟ์ ซึ่งถ้าพูดจริงๆ แล้ว เครื่องที่เล่น MP4 ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเล่นภาพยนตร์ได้เสมอไป อาจเอาไว้ใช้ฟังเพลงที่ใช้มาตรฐานการเข้ารหัสด้วย AAC (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน MPEG4) เท่านั้นก็ได้ เพียงแต่ปัจจุบันนี้ตัวเครื่องมักจะมีฟังก์ชันให้คุณใช้งานครบถ้วนแถมยังใส่ซิมเอาไว้ใช้แทนโทรศัพท์มือถือได้อีกต่างหาก
2.  Dynamic DNS
สำหรับ DNS หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้างแล้ว วันนี้ลองมาขยายขอบเขตของตัว DNS กัน นั้นก็คือ Dynamic DNS ว่าจะมีประโยชน์มากขนาดไหน ขออธิบายอีกสักครั้งสำหรับระบบดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) หน้าที่ของดีเอ็นเอสคือ เก็บข้อมูลของชื่อโดเมนและไอพีแอดเดรส เช่น www.company.com มีไอพีแอดเดรส 203.156.24.52 คอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลดีเอ็นเอสนี้เรียกว่า ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) เมื่อคอมพิวเตอร์เรียกเว็บไซต์ www.company.com เราต้องระบุชื่อเว็บไซต์ให้กับโปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เช่น IE จากนั้นบราวเซอร์จะทำการสอบถามไปยังดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ เพื่อขอทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของ www.company.com จากนั้นดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งหมายเลขไอพีแอดเดรสของ www.company.com ให้ทราบ เมื่อได้ไอพีแอดเดรสของ www.company.com แล้ว บราวเซอร์จะติดต่อไปยังที่อยู่หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ www.company.com หากพบแล้วก็ทำการร้องขอข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น และเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะส่งข้อมูลของ www.company.com กลับมาที่บราวเซอร์ เราจึงเห็นเว็บไซต์นั้นได้
สำหรับ ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์นี้จะติดตั้งอยู่ที่ไอเอสพีที่เราใช้บริการอยู่และจะทำ งานเชื่อมต่อกับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นก็ต้องได้รับการกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ด้วย แต่สำหรับการจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่บ้านหรือสำนักงาน ไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ได้ เพราะเป็นไอพีแอดเดรสที่ได้รับมาแบบชั่วคราว โดยไอพีแอดเดรสจะเปลี่ยนไปทุกๆ ครั้งเมื่อเชื่อมต่อกับไอเอสพี เช่น เชื่อมต่อครั้งแรกอาจจะได้หมายเลข 203.156.24.52 พอวันรุ่งขึ้นอาจจะเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่งซึ่งได้หมายเลข 203.145.32.96 และ เปลี่ยนไปทุกครั้งที่ทำการเชื่อมต่อใหม่ (การขอไอพีแอดเดรสแบบคงที่ สามารถทำได้แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก) ดังนั้น การใช้โดเมนเนมกับไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่จึงไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องใช้ระบบไดนามิกดีเอ็นเอสเข้ามาช่วย
ระบบไดนามิกดีเอ็นเอส (Dynamic DNS) เป็น ระบบที่เก็บไอพีแอดเดรสกับโดเมนเนมของคอมพิวเตอร์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถแจ้งไอพีแอดเดรสที่เปลี่ยนแปลงทุกๆ ครั้ง ให้กับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการไดนามิกดีเอ็นเอส ผ่านทางโปรแกรมสำหรับแจ้งไอพีแอดเดรสอัตโนมัติ สามารถดาวน์โหลดได้จากผู้ให้บริการ
ดัง นั้น บริการไดนามิกดีเอ็นเอสจึงช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเอดีเอสแอลที่มี ไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่ สามารถจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ของตนเองขึ้นที่บ้านหรือสำนักงานได้
โดย มีแอดเดรสเป็นโดเมนเนมแทนตัวเลข ซึ่งจะช่วยให้เรามีตัวตนในโลกของอินเทอร์เน็ต แนะนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณาให้กับธุรกิจของคุณ สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างคุ้มค่าและประหยัดนั่นเอง
สำหรับผู้ให้บริการระบบไดนามิกดีเอ็นเอสก็มีอยู่หลายแห่ง แต่จะขอแนะนำบริการนี้ที่ www.no-ip.com ซึ่งมีบริการลงทะเบียนฟรี แต่จะได้โดเมนเนมแบบ yourname.no-ip.info หรืออื่นๆ ตามที่มีให้เลือกในแบบเงื่อนไขที่ฟรี
3.    Wi-Fi
วิถี ชีวิตยุคใหม่ของคนเมือง ที่ไม่ต้องการทำงานที่ไม่ยึดติดกับที่ อินเทอร์เน็ตไร้สายจะเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะว่าสามารถใช้งานได้ทุกอย่างไม่ว่าจะดาวน์โหลดไฟล์ หรือค้นหาข้อมูล ก็เพียงแค่มองหาสัญลักษณ์ Wi-Fi บนอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ก หรือ โทรศัพท์มือถือ หากมีสัญลักษณ์ Wi-Fi ก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายได้แล้ว แต่คุณก็อาจจะยังสงสัยว่า จริงๆแล้ว Wi-Fi มันคืออะไรกันแน่?
Wi-Fi หรือในชื่อเต็มๆว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายที่ตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินสายเหมือนกับเครือข่ายแลนแบบเดิมๆ
เทคโนโลยีหรือมาตรฐานของ Wi-Fi ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ 802.11 ซึ่งมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ใช้จาก IEEE(the Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกันนั่นเอง
ในปัจจุบัน ทั่วกรุงเทพฯ ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล ฯลฯ ได้เริ่มมีบริการ Access Point สำหรับใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ จนแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถมีชีวิตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลากันเลยทีเดียว

4.  HD DVD
HD DVD (High Definition DVD) เป็นมาตรฐานของออปติคอลดิสก์ซึ่งพัฒนาโดยโตชิบา ในรูปแบบของ ดีวีดี เจเนอเรชันใหม่ ซึ่งมีความคมชัดมากกว่า DVD ในปัจจุบัน โดยมีขนาดของแผ่นเท่ากับแผ่น CD ธรรมดา และยิงด้วย blue laser แบบเดียวกับที่ใช้ใน Blu-ray Disc โดยในแบบ single layer จะความจุมากถึง 15 GB และ dual layer มีความจุ 30 GB ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Blu-ray Disc ซึ่งจุได้ 25 GB สำหรับ single layer และ 50GB สำหรับ dual layer อาจจะได้ความจุน้อยกว่าแต่ราคาจะถูกกว่า และทางโตชิบา มีแผนจะวางจำหน่ายเครื่องเล่น HD DVD ช่วงเดือนมีนา ที่จะถึงนี้ พร้อมกับทางค่ายหนังก็จะวางแผนจะออกวางจำหน่าย ดีวีดีแบบ Hi-Def ประมาณ 200 เรื่อง ทยอยตามออกมาในช่วงใกล้เคียงกัน
5. Zombie
คอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยนักเจาะ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้เพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ตัวอย่างทั่ว ๆ ไปได้แก่การโจมตีแบบ DDoS (Distrubuted Denial of Service) เมื่อเครื่องที่เป็น zombie ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องโจมตีเครื่องอื่นที่เป็นเป้าหมาย เจ้าของเครื่องที่เป็น zombie อาจ ไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์ของพวกเขาถูกควบคุมโดยนักเจาะ ถ้าคอมพิวเตอร์นั้นถูกใช้เพื่อเป็นฐานการโจมตีที่เป้าหมายได้รับความเสียหาย เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น อาจถูกตามหาตัว หรือรับผิดชอบตามกฎหมาย
6.  Cross Site Scripting
Cross Site Scripting (CSS) ซึ่ง คำนี้แฮคเกอร์ส่วนใหญ่จะเข้าใจดี เพราะมันเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจับตาดูเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึง และไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เมื่อพวกเขากลับเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำอีกครั้งในภายหลัง แฮคเกอร์จะแอบสร้างลิงค์ขึ้นมาใหม่บนเว็บไซต์เป้าหมายด้วยโค้ด หรือสคริปท์โดยอาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้น แล้วแอบขโมยเอาข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้าไปโดยที่ผู้ใช้เข้าใจว่า ได้ให้ข้อมูลสำคัญกับทางเว็บไซต์ที่กำลังติดต่ออยู่ในขณะนั้น การโจมตีด้วยเทคนิค Cross Site Scripting แฮคเกอร์ สามารถสร้าง และส่งลิงค์ไปให้กับเหยื่อ (ด้วยชื่อของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และต้องมีการป้อนข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิก) ผ่านทางอีเมล์, เว็บบอร์ด เป็นต้น เมื่อแฮคเกอร์ได้ข้อมูลของคุณไปแล้ว พวกมันก็จะสวมรอยด้วยการใช้ข้อมูลของคุณล็อกออนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ได้
กล่าวโดยสรุปก็คือ Cross Site Scripting เป็น เทคนิคการส่งลิงค์ที่ฝังโค้ด หรือสคริปท์การทำงานของแฮคเกอร์เข้าไป เพื่อให้ปรากฎบนหน้าเว็บของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ โดยหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสำคัญแล้วส่งกลับมาให้แฮคเกอร์แทนที่จะผ่านเข้า ไปในเว็บไซต์ที่เรากำลังเข้าไปเยี่ยมชมอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง
7.   Cookies
Cookies คือ ข้อมูลขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปเก็บไว้ในบราวเซอร์ของท่าน เพื่อทำการเก็บข้อมูลการเข้าเยี่ยมชม เมื่อท่านเปิดเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้งในคราวหลัง เครื่องก็จะจำได้ทันทีว่าท่านเคยเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว Cookies ไม่ ใช่โปรแกรมที่จะเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานแล้วทำลายไฟล์ต่าง ๆ แต่มีไว้เพื่อช่วยให้เราคอยติดตามว่าผู้ใช้แวะเยี่ยมหน้าใดบ้าง เริ่มต้นจากหน้าไหนจบลงด้วยหน้าไหนและบ่อยแค่ไหน เราไม่ได้ใช้ Cookies เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้คือใคร เพียงแต่บอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นี้เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว Cookies ไม่ได้ใช้สำหรับเก็บ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล์ หากท่านไม่ประสงค์ให้ Cookies เข้าไปอยู่ในคอมพิวเตอร์ของท่าน ท่านสามารถ สั่งให้บราวเซอร์ปฏิเสธไฟล์ Cookies ได้
ประโยชน์ของ Cookies :
(1).
ใช้จัดเก็บข้อมูลของผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชม และจัดเก็บข้อมูลของสมาชิกแต่ละท่าน เพื่อใช้ในนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการให้ตรงตามความต้องการของแต่ละท่านมากที่สุด ซึ่ง Cookies เหล่านี้จะเริ่มเก็บข้อมูลหลังจากที่ท่านใส่รหัสผ่านของสมาชิกและจะหยุดการจัดเก็บข้อมูลเมื่อท่าน ออกจากรหัสผ่าน หรือ log out

(2).
ใช้ประเมินจำนวนผู้เข้าชม การใช้บราวเซอร์แต่ละประเภทจะมีการใช้ Cookies ที่ แตกต่างกันออกไป ทำให้สามารถจำแนกการใช้งานของผู้เข้าชมทั้งที่เป็นสมาชิกและมิได้เป็นสมาชิก ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายโดยประเมินจากความ สนใจและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

(3).
ใช้ตรวจสอบความถี่ในการใช้งาน หรือรูปแบบการเข้าชม การตรวจสอบ Cookies นี้ นอกจากจะทำให้เราเข้าใจถึงลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีผลต่อการปรับปรุงบริการของเรา เนื้อหา การโฆษณา และการส่งเสริมการขายต่างๆ ในเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล
8.  WiMAX
WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access) หรือมาตรฐาน IEEE 802.16 คือเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงล่าสุด ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ ต่อมามีการแตกเวอร์ชั่นเป็น IEEE 802.16a ซึ่งได้รับอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) มีรัศมีทำการ 30 ไมล์ (ประมาณ 48 กิโลเมตร) และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุด 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) กว้างกว่า 10 เท่าและเร็วกว่า 30 เท่าเทียบกับ 3G
คุณสมบัติเด่นของ IEEE 802.16a คือ ความสามารถในการส่งสัญญาณจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อมกัน, รองรับการทำงานแบบ Non-Line-of-Sight คือ ทำงานได้แม้มีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้หรืออาคาร และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในการขยายพื้นที่ให้ บริการ มาตรฐาน IEEE 802.16a จะทำงานบนความถี่ย่าน 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้
IEEE 802.16a สามารถ ตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลที่สายเคเบิล ลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็สะดวกสบายและประหยัดสำหรับสำหรับผู้ให้บริการในการขยายเครือ ข่ายที่มีอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิล นอกจากนี้ IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงในเรื่องคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ให้สามารถรองรับได้ทั้งภาพ (Video) และเสียง (Voice) โดยไม่ใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเดิม (Low Lantency Network) ส่วนเรื่องซีเคียวริตี้ ได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และมีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ขณะรับส่ง ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยสูง
เวอร์ชั่นต่างๆของ WiMAX ในปัจจุบันมีดังนี้
IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) คือต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างเครื่องรับเครื่องส่ง และรันบนย่านความถี่ 10-16 GHz
IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม รันบนความถี่ย่าน 2-11 GHz โดยคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือ การรองรับการทำงานแบบ NLoS (Non-Line-of-Sight) คือแม้มีสิ่งกีดขวางก็ยังทำงานได้ รัศมีทำการ 30 ไมล์ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 75 Mbps นั่นหมายความว่า WiMAX สามารถรองรับบริการเครือข่ายความเร็วสูงระดับ ที 1 (T1-Type) จำนวน 60 ราย และบริการ DSL จำนวนอีกหลายร้อยรายได้พร้อมกันโดยไม่มีปัญหา
IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์โมบายล์ เช่น พีดีเอและโน้ตบุ๊ค รัศมีทำการ 1.6-4.8 กิโลเมตร สนับสนุนการเชื่อมต่อในขณะเคลื่อนที่โดยไม่กระทบกับคุณภาพและความเสถียรของระบบ  WiMAX Forum คือ องค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทสื่อสารชั้นนำทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.16
9.  Client/Server
วิธี การประมวลผลแบบกระจายวิธีหนึ่ง โดยมีการโต้ตอบกันระหว่างไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนเครื่องของผู้ใช้และ เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนโฮสต์คอมพิวเตอร์โฮสต์ คอมพิวเตอร์อาจจะเป็นยูนิกซ์ เมนเฟรมหรือเครื่องประเภทอื่นได้ ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์จะจัดการด้านการแสดงผลข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์จทำหน้าที่ของฐานข้อมูลการติดต่อระหว่างซอฟต์แวร์ทั้ง คู่จะกำหนดโดยโปรโตคอลเฉพาะ วิธีการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นี้ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อ เครื่องส่วนบุคคลและเครือข่ายมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น
10.          Broadband
สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทาง (ใช้แถบความถี่หลายความถี่)

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศัพท์เกี่ยวกับ IT ครั้งที่ 1


1.  API
                Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับระบบ ปฏิบัติการ
                การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัติการ ได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นของเขาให้ทำงานเข้ากับ ระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%
                อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้
2. Chipset
                "Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด
3. Flash Memory
                "Flash Memory" หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของหน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า
                "Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก
                "Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเพียงครั้งเดียว
                ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ก, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ
4. Free Software
                Free Software เป็นคำที่มีคนเข้าใจผิดกันมาก เพราะคำว่า Free ใน Free Software นั้นหมายถึง "เสรีภาพ" หรือ "อิสระภาพ" ไม่ใช่ "ราคา" ดังนั้นเราจึงเรียก Free Software ว่า "ซอฟต์แวร์เสรี" ซึ่งมีแนวคิดหรือคอนเซ็ปต์เดียวกันกับโอเพนซอร์ส” (Open Source)
สำหรับนิยามของคำว่า Free Software นั้น มีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน คือ
                1.มีเสรีในการรันหรือใช้ซอฟต์แวร์สำหรับทุกๆวัตถุประสงค์
                2.มีเสรีในการปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ
สำหรับ ข้อนี้นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า การปรับแต่งซอฟต์แวร์ต้องกระทำในส่วนที่เป็นซอร์สโค้ดเท่านั้น หากไม่มีซอร์สโค้ด ก็ไม่สามารถทำได้ หรืออาจจะได้ แต่ยากมากๆ
                3.มีเสรีในการก็อปปี้ซอฟต์แวร์เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้อื่น ไม่ว่าจะมีราคาค่าตัวหรือไม่ก็ตาม
                4.มีเสรีในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมตามความต้องการแล้ว
                จาก นิยามทั้ง 4 ข้อ เมื่อคำว่า Free ถูกตีความไปเป็นคำว่า เสรีภาพหรืออิสรภาพแล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงได้รับความกระจ่างกับคำถามที่ว่าทำไมฟรีซอฟต์แวร์ถึงขายได้???” หรือ ทำไมลีนักซ์จึงไม่ใช่ของฟรี??? ไหนบอกว่าเป็นฟรีซอฟต์แวร์
                อย่างไรก็ตาม รายได้จากการจำหน่ายฟรีซอฟต์แวร์จะกลายเป็นทุนสำหรับการพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ ให้ดีขึ้นต่อไป เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง และอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน จำเป็นต้องมีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งรายได้เหล่านั้นก็มาจากเงินบริจาคและจากการจำหน่ายฟรีซอฟต์แวร์นั่นเอง
5. Instruction
  Instruction หรือ อินสตรักชั่น คือ คำสั่งที่สั่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้โปรเซสเซอร์ทำงานตามที่ต้องการใน ระดับล่างสุด อินสตรักชั่นแต่ละอินสตรักชั่นจะประกอบไปด้วย 0 และ 1 เรียงต่อๆกันอยู่ ซึ่งจะอธิบายถึงลักษณะและวิธีการประมวลผล เช่น บวกหรือลบ
                พื้นที่ ที่ใช้เก็บจำนวนหรือผลลัพธ์ที่ใช้ในการประมวลผล หรือแอดเดรสของอินสตักชั่นถัดไปในหน่วยความจำ (ขึ้นอยู่กับประเภทของอินสตักชั่น) ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงแอดเดรสแบบทางตรง (Direect) หรือทางอ้อม (Indirect) จะเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register)
                ในภาษาแอสเซมเบลอร์ (Assembler) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับ 1 อินสตักชั่น แต่สำหรับในภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงแล้ว คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับหลายๆอินสตักชั่นรวมกัน
6. Main Frame
                Mainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)
                ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้
7. MalWare
                มัลแวร์ หรือโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Application; MalWare) คือโปรแกรมที่ทำงานแบบไม่หวังดีกับระบบคอมพิวเตอร์ อันหมายรวมถึง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), โปรแกรมแอบดักข้อมูล (Spyware), โปรแกรมโฆษณา (Adware), Backdoor, Key Logger ฯลฯ
8. Microchip
                Microchip หรือ ไมโครชิพ หรือ ชิพ คือแพ็คเกจของชุดวงจรคอมพิวเตอร์ (อินทิเกรเต็ดเซอร์กิต; Integrated Circuit) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ซิลิคอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ไมโครชิพถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรแกรมตรรก (ชิพไมโครโปรเซสเซอร์) และหน่วยความจำ (แรม; RAM) นอกจากนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีกด้วย เช่น Analog-to-Digital Conversion, Bit Slicing และ Gateway เป็นต้น

9. Nonvolatile Memory
                Nonvolatile Memory หรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย
10. Podcast
                พ็อดคาสต์หรือ Podcast คือการบันทึกเสียงหรือการนำไฟล์เสียงขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดมาฟัง ไฟล์เสียงที่ถูกเก็บไว้ในพ็อดคาสต์ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์เพลงเสมอไป เจ้าของเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับเสียง หรืออาจทำในรูปแบบ Audio Weblog หรือเว็บล็อกที่ใช้เสียงพูดแทนตัวหนังสือ
                กรณี ศึกษาที่เห็นได้ชัดคือ เว็บไซต์อย่าง EarningsCast.com นักลงทุนสามารถฟังรายงานผลประกอบการรายไตรมาสของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ ผ่านพ็อดคาสต์ ถือเป็นการใช้พ็อดคาสต์เพื่อเป็นประโยชน์ในการเทรดหุ้นของบริษัท
                จุดต่างของระหว่างพ็อดคาสติ้งและสถานีเพลงออนไลน์ทั่วไปคือ ผู้ที่ต้องการฟังสถานีเพลงออนไลน์จะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์เพื่อดาวน์โหลด ไฟล์ MP3 มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะดาวน์โหลดเพื่อเก็บในเครื่องเล่นพกพา ในขณะที่สมาชิกของเว็บไซต์พ็อดคาสต์จะได้รับไฟล์ MP3 อัปเดทใหม่แบบอัตโนมัติแม้จะไม่ได้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ก็ตาม ผลจากการทำงานร่วมกับ RSS Feed

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

คำนิยามของศัพท์

Information Technology (IT) คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน
Search Engine Marketing คือ การทำการตลาดผ่านเสริจเอ็นจิ้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ผ่านเสริจเอ็นจิ้น โดยใช้เครื่องมือบนอินเตอร์เนตโดยมีเว็บไซต์เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการทำการตลาด
Fan Page คือ Fan page หรือ Facebook page เป็นหน้าที่คุณสามารถสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า ธุรกิจ หรือองค์กรของคุณแล้วข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่คุณจะสามารถแลกเปลี่ยน นำเสนอให้ผู้ใช้ fb คนอื่นได้รับรู้ได้โดยตรงลักษณะของ fan page (facebook page) จะแตกต่างจาก facebook ที่เราใช้อยู่ซึ่งเรียกว่า facebook profiles โดย facebook page จะมีลักษณะคล้ายๆ Group แต่เป็นหน้าเว็บเพจคล้ายๆ กับ facebook profile ส่วนใหญ่ facebook page จะถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน บริษัทหรือสินค้าต่างๆ ซึ่งผู้ใช้ที่จะเข้าติดตาม facebook page ใดๆ นั้นก็จะเข้าเป็น fan (become a fan) กับ page นั้นๆ และผู้สร้าง page นั้นๆ สามารถจะแจ้งข่าวหรือนำ Application ต่างๆ มาใช้กับ page และผู้ใช้ทั่วไปที่เป็น fan กับ page นั้นๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมได้เช่นกัน และในส่วนของ fan นี้ อาจนำมาใช้วัดความนิยมของแบรนด์สินค้าหรือวัดชื่อเสียงหน่วยงานได้อีกด้วย โดยปกติแล้ว facebook profile จะไม่ถูก index ใน Google แต่ facebook page จะถูก index เพราะฉะนั้น facebook page จึงเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือองค์กรที่มีประสิทธิภาพมาก
IP Address Class C คือ IP Address Class ที่ใช้กัน Class หนึ่งโดยจะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน Class B, Class C ตามลำดับ Class C จะมี Network ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)  

Management Information System (MIS) คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
Decision Support System (DSS) คือ  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
WiBro คือ  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mobile WiMAX เป็น เทคโนโลยีสื่อสารตัวใหม่ที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในขณะเคลื่อนที่ ซึ่งบรอดแบรนด์ไร้สายดังกล่าวนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นระบบสื่อสารเคลื่อนที่ที่ถูกจัดไว้
ในมาตรฐาน IEEE 802.16
EDI (Electronic Data Interchange) คือ เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจมาตรฐาน คือ American National standard institute x 12 และได้รับการพัฒนาโดย data interchange standard association ซึ่ง ANSI X 12 มีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้รวมกับมาตรฐานสากล EDIFACT
Blog คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง
Expert System คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อุตสาหกรรม